วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563

หุ่นยนต์ในงานการแพทย์

 หุ่นยนต์ในงานการแพทย์   การใช้หุ่นยนต์ในการช่วยผ่าตัด

จะมีส่วนประกอบในการทำงานดังนี้

        - ตัวหุ่นยนต์อยู่ข้างคนไข้ ทำการผ่าตัดเลียนแบบการเคลื่อนไหวของมือศัลยแพทย์ที่ควบคุมสั่งการอยู่ที่ console หุ่นยนต์นี้ประกอบด้วยแขนกล 4 แขน แขนที่1 ใช้ในการถือกล้องเพื่อส่งภาพอวัยวะภายในของผู้ป่วยออกมายังจอภาพของเครื่องสั่งการ (console)ให้ศัลยแพทย์เห็นเป็นภาพขยาย 3 มิติที่มีความลึกและคมชัด สามารถมองเห็นรายละเอียดต่างๆ ของอวัยวะภายในร่างกาย รวมถึงเนื้อเยื่อและเส้นประสาทได้อย่างชัดเจน แขนที่เหลืออีก 3 แขนก็ใช้ในการถือเครื่องมือหุ่นยนต์ที่มีข้อมือกล (wristed instruments) ที่สามารถหมุนและโค้งงอเครื่องมือได้ถึงเจ็ดทิศทาง จึงให้การเคลื่อนไหวของเครื่องมือหุ่นยนต์ทำได้เหมือนมือมนุษย์ แต่จะละเอียดและราบรื่นกว่าด้วยการช่วยเหลือปรับปรุงสัญญานโดยคอมพิวเตอร์

        ชุดควบคุมหรือสั่งการ (console) เป็นตำแหน่งที่ศัลยแพทย์นั่งควบคุมการผ่าตัดผ่านจอภาพ 3 มิติ ระหว่างการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะนั่งประจำที่ console ทำการผ่าตัดโดยใช้ทั้งสองมือควบคุมเคลื่อนไหวก้านกลเหมือนผ่าตัดปกติ ระบบจะถ่ายทอดสัญญาณการเคลื่อนไหวจากมือศัลยแพทย์ไปยังแขนกลของหุ่นยนต์ที่ทำการผ่าตัดภายในร่างกายของผู้ป่วยเลียนแบบการเคลื่อนไหวของศัลยแพทย์

        - คอมพิวเตอร์คอนโทรลทาวเวอร์ (Computer Control Tower) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยควบคุม วิเคราะห์ และกรองข้อมูลสัญญานไปมาระหว่างหุ่นยนต์กับศัลยแพทย์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ระบบ AS/RS

ความหมายของระบบ AS/RS       ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ ( Automated Storage/Retrieval System  หรือเรียก  AS/RS )                ...